วันอังคารที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2555

ความคิดสร้างสรรค์(Creative Thinking)

ความคิดสร้างสรรค์(Creative Thinking)
 มล.นิพาดา เทวกุล
ลักษณะความคิดสร้างสรรค์
ความคิดสร้างสรรค์เป็นลักษณะความคิดแบบอเนกนัย(Divergent Thinking)คือการคิดหลายๆแง่หลายๆ
ทางคิดให้มากที่สุดเท่าที่จะนึกได้ เป็นการมองปัญหาในแนวกว้างเหมือนกับแสงอาทิตย์ที่แผ่รัศมีออกรอบด้าน คนที่มีความคิดสร้างสรรค์นั้นจะเป็น
        คนที่มีความคิดริเริ่ม(Originality) คือมีความคิดที่แปลกใหม่ต่างจากความคิด
ธรรมดาของคนทั่วๆไป
         มีความคิดยืดหยุ่น(Flexibility) คือมีความสามารถในการคิดหาคำตอบได้หลาย
ทิศทางหลายแง่หลายมุม
         มีความคิดคล่องแคล่ว(Fluency) คือสามารถคิดหาคำตอบได้อย่างคล่องแคล่ว
ว่องไว รวดเร็ว และ ได้คำตอบมากที่สุดในเวลาที่จำกัด
        มีความคิดละเอียดลออ(Elaboration) คือการคิดได้ในรายละเอียดเพื่อขยายหรือ
ตกแต่งความคิดหลักให้ได้ความหมายที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น

กระบวนการคิดสร้างสรรค์(Creative process)
กระบวนการคิดสร้างสรรค์คือ วิธีคิดหรือกระบวนการทำงานของสมองที่มีขั้นตอนต่างๆ
ในการคิดแก้ปัญหาจนสำเร็จ ซึ่งมีหลายแนวคิดเช่น
Wallasได้เสนอว่ากระบวนการของความคิดสร้างสรรค์เกิดจากการคิดสิ่งใหม่ๆโดยการ
ลองผิดลองถูก ประกอบด้วย 4 ขั้นตอนคือ
     1. ขั้นเตรียมการ คือการข้อมูลหรือระบุปัญหา
     2. ขั้นความคิดกำลังฟักตัว คือการอยู่ในความสับสนวุ่นวายของข้อมูลที่ได้มา
     3. ขั้นความคิดกระจ่างชัด คือขั้นที่ความคิดสับสนได้รับการเรียบเรียงและเชื่อม
โยงเข้าด้วยกันทำให้เห็นภาพรวมของความคิด
     4. ขั้นทดสอบความคิดและพิสูจน์ให้เห็นจริง  คือขั้นที่รับความคิดเห็นจากสาม
ขั้นแรกข้างต้นมาพิสูจน์ว่าจริงหรือถูกต้องหรือไม่

Hutchinson
มีความคิดคล้ายๆกันว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นกระบวนการเชื่อมโยงความรู้ที่มีอยู่เข้าด้วยกันอันจะนำไปสู่การแก้ปัญหาใหม่ที่คิดใช้เวลาการคิดเพียงสั้นๆอย่างรวดเร็วหรือยาวนานก็อาจเป็นไปได้โดยมีลำดับการคิดดังนี้
     1. ขั้นเตรียมเป็นการรวบรวมประสบการณ์ มีการลองผิดลองถูกและ
ตั้งสมมุติฐานเพื่อแก้ปัญหา
     2. ขั้นครุ่นคิดขัดข้องใจ เป็นระยะที่มีอารมณ์เครียด อันสืบเนื่องจาก
การครุ่นคิด แต่ยังคิดไม่ออก
     3. ขั้นของการเกิดความคิด เป็นระยะที่เกิดความคิดในสมองเป็นการ
มองเห็นวิธีแก้ปัญหาหรือพบคำตอบ
     4. ขั้นพิสูจน์ เป็นระยะการตรวจสอบประเมินผลโดยใช้เกณฑ์ต่างๆ
เพื่อดูคำตอบที่คิดออกมานั้นเป็นจริงหรือไม่

Roger von Oech
เจ้าของบริษัทความคิดสร้างสรรค์ในอเมริกาได้กล่าวถึงกระบวนการคิดสร้างสรรค์
โดยแยกความคิดออกเป็น 2 ประเภทคือความคิดอ่อนและความคิดแข็ง


ความคิดอ่อนความคิดแข็ง
อุปมาอุปมัยหลักการ
ความฝันเหตุผล
ความขำขันความแม่นยำ
ความคลุมเคลือความสม่ำเสมอ

การเล่นการทำงาน
การประมาณการความพอดิบพอดี
ความใฝ่ฝันความเป็นจริง
ความขัดแย้งตรงไปตรงมา
การสังหรณ์ใจการวิเคราะห์
โดยทั่วไปอย่างเฉพาะเจาะจง
อย่างเด็กอย่างผู้ใหญ่

    ความคิดแข็ง นั้นจะมีคำตอบที่ถูกหรือผิดอย่างแน่นอน แต่ความคิดอ่อนนั้นอาจมี
คำตอบที่ถูกหลายอย่าง
ซึ่งฟอนโอชได้กล่าวถึงกระบวนการคิดสร้างสรรค์ไว้ว่าประกอบด้วย 2 ขั้นตอนคือ กระบวน
การเพาะตัวและกระบวนการปฏิบัติการ โดยกระบวนการเพาะตัวเป็นการสร้างความคิดใหม่ 
ในขณะที่กระบวนการปฏิบัติการเป็นการใช้ความคิดที่คิดขึ้นมาไปปฏิบัติงานจริง
    ความคิดอย่างอ่อน เป็นสิ่งที่เหมาะสมสำหรับกระบวนการเพาะตัว ซึ่งเป็นระยะที่กำลังมอง
หาความคิดใหม่ๆ เป็นการมองที่กว้างๆเพื่อหาวิธีการต่างๆมาใช้เพื่อการแก้ปัญหา ส่วน
ความคิดอย่างแข็งนั้นมักใช้ในช่วงการปฏิบัติงานจริงๆ เมื่อต้องการประเมินความคิดและ
ขจัดสิ่งต่างๆที่ไม่เกี่ยวข้องโดยตรงในการแก้ปัญหาออกไปตรวจดูผลดีผลเสียและความ
เสี่ยงรวมทั้งการเตรียมที่จะเปลี่ยนความคิดให้เป็นการกระทำด้วย

ประโยชน์ของความคิดสร้างสรรค์

- ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงทำให้เกิดแนวทางใหม่ๆในการดำเนินชีวิตและหนทางใหม่ๆในการ
แก้ปัญหาชีวิตและการทำงาน

- ก่อให้เกิดความสนุก เป็นธรรมดาของมนุษย์ที่ต้องค้นหาวิธีการคิดใหม่ๆขึ้นมาทดแทน
ความคิดเก่าๆสำหรับโลกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว การที่มนุษย์ต้องคิดอะไรใหม่ๆ
อยู่เสมอย่อมเป็นเรื่องสนุกเพราะทำให้ชีวิตไม่จำเจ

- พัฒนาสมองของคนให้มีความฉลาดเฉียบคม การฝึกการคิดหรือพยายามคิดเรื่องที่แปลกๆใหม่ๆ
เป็นประจำ จะทำให้เกิดความเฉียบแหลมในการคิดแก้ปัญหาต่างๆเพิ่มขึ้น

- สร้างความเชื่อมั่น ความน่านับถือและความพอใจในตัวเองขึ้นมา เมื่อใดก็ตามที่เราพัฒนา
ขีดความสามารถในการคิดสร้างสรรค์จนสามารถเผชิญหน้าและและแก้ปัญหาต่างๆได้อย่างราบรื่น
ก็จะกลายเป็นผู้นำทางด้านความคิดและเกิดความภูมิใจในตนเอง
   นอกจากนี้ความคิดสร้างสรรค์ยังช่วยยกระดับความสามารถ ความอดทนและความคิดริเริ่มของผู้นำ
ให้ ้เพิ่มมากขึ้น และยังเป็นการพัฒนาความสนใจในงาน พัฒนาการใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์และ
พัฒนาชีวิตให้ทันสมัยมากขึ้น

อุปสรรคของความคิดสร้างสรรค์
 อุปสรรคของความคิดสร้างสรรค์นั้นสามารถแยกได้เป็น 2 ประเภทคือ อุปสรรค
ภายนอกและอุปสรรคภายใน
      อุปสรรคภายนอกจะหมายถึง ข้อจำกัดอันเกิดจาก จากขนบธรรมเนียมประเพณี
วัฒนธรรมและกฏเกณฑ์ของสังคมหรือสภาพแวดล้อมภายนอก ส่วนอุปสรรคภายใน
นั้นจะหมายถึง นิสัยใจคอ ท่าทีและทัศนคติของคนแต่ละคน

 อุปสรรคภายนอก จะเกิดขึ้นในลักษณะเช่น ธรรมเนียมที่ไม่เปิดโอกาสให้เด็กได้ซักถามตามความ
อยากรู้อยากเห็น ธรรมเนียมของการชอบคิดตามอย่างกันซึ่งถ้าคิดแปลกจากคนอื่นจะไม่เป็นที่ยอมรับของสังคมธรรมเนียมที่เน้นบทบาทความแตกต่างระหว่างเพศอย่างชัดเจนในเรื่องหน้าที่ของหญิงและชายวัฒนธรรมสังคมให้ค่านิยมกับความสำเร็จและไม่ยอมรับความล้มเหลวทำให้คนไม่กล้าทดลองทำสิ่งใหม่ๆการเน้นระเบียบและกฏเกณฑ์มากเกินไปถ้าเปลี่ยนแปลงเพียงเล็กน้อยก็ถือเป็นความผิดซึ่งขาดความยืดหยุ่นทำให้ไม่กล้าแสดงความคิดสร้างสรรค์ออกมา
 อุปสรรคภายใน ที่เกิดขึ้นจากตัวเราเองก็ได้แก่ ความกลัวที่จะถูกตำหนิติเตียนและหาว่าแปลก
เคยชินการคิดแบบเดิมที่เคยทำอยู่เป็นประจำ การมีอคติหรือมีทัศนะที่คับแคบว่าคำตอบที่ถูกต้องมีเพียงคำตอบเดียว ความเฉื่อยชาและอืดอาดในการเริ่มคิดเริ่มทำทำให้ขาดแรงกระตุ้นที่จะทำสิ่งใหม่ๆสรุปว่าถ้าเราต้องการจะพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ของเราให้เกิดมากขึ้นก็ต้องพยายามกำจัดอุปสรรคทั้งภายนอกและภายในทิ้งไปให้ได้มากที่สุด

การพัฒนาและส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์
    ในสมัยก่อนเราเชื่อกันว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นพรสวรรค์ที่ติดตัวคนบางคนมาตั้งแต่เกิด แต่พอ
มาถึงปัจจุบันที่เป็นยุคแห่งวิทยาการทำให้ความเชื่อดั้งเดิมที่มีเคยมีมามาปรับเปลี่ยนไป เพราะนักจิตวิทยาส่วนใหญ่เห็นพ้องต้องกันว่าความคิดสร้างสรรค์นั้นเป็นความสามารถที่มีอยู่ในตัวมนุษย์ทุกคนตั้งแต่เกิดเพียงแต่มีการแสดงออกหรือมีพัฒนาการมากน้อยต่างกันไป และยังสามารถพัฒนาเพิ่มให้มีมากขึ้นด้วยการฝึกฝนอย่างสม่ำเสมอ
   การส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์นั้นอาจทำได้ทั้งทางตรงโดยการสอนและฝึกอบรม และทางอ้อม
ก็สามารถทำได้ด้วยการจัดบรรยากาศสภาพแวดล้อมที่ส่งเสริมความเป็นอิสระในการเรียนรู้อย่างเช่น

- การส่งเสริมให้ใช้จิตนาการตนเอง

- ส่งเสริมและกระตุ้นการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง

- ยอมรับความสามารถและคุณค่าของคนอย่างไม่มีเงื่อนไข

- แสดงให้เห็นว่าความคิดของทุกคนมีคุณค่า และนำไปใช้ประโยชน์ได้

- ให้ความเข้าใจ เห็นใจและความรู้สึกของคนอื่น

- อย่าพยายามกำหนดให้ทุกคนคิดเหมือนกัน ทำเหมือนกัน

- ควรสนับสนุนผู้คิดค้นผลงานแปลกใหม่ได้มีโอกาสนำเสนอ

- เอาใจใส่ความคิดแปลกๆของคนด้วยใจเป็นกลาง

- ระลึกเสมอว่าการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์ต้องค่อยเป็นค่อยไปและใช้เวลา

เทคนิคการพัฒนาความคิดสร้างสรรค์
    การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์นั้นมีเทคนิคที่ใช้กันอยู่หลายวิธีการด้วยกันอันได้แก่

- การระดมสมอง(Brainstorming) เป็นเทคนิคเพื่อรวบรวมทางเลือกและการแก้ปัญหา
โดยให้โอกาสในการคิดอย่างอิสระที่สุดและไม่มีการวิพากษ์วิจารณ์ใดๆระหว่าง การคิด
เพราะการวิพากษ์วิจารณ์จะเป็นการขัดขวางความคิดสร้างสรรค์

- การปลูกฝังความกล้าที่จะทำสิ่งสร้างสรรค์เป็นเทคนิคที่ใช้การตั้งคำถามง่ายๆเพื่อให้ให้คิดโดยจัด
ให้อยู่ในสภาพแวดล้อม ที่เป็นที่ยอมรับของผู้อื่น เมื่อฝึกฝนมากเข้าเข้าก็จะช่วยในการพัฒนา
ความคิดสร้างสรรค์ ให้มีมากขึ้น

- การสร้างความคิดใหม่ เป็นอีกเทคนิคหนึ่งโดยใช้การแจกแจงวิธีการในการแก้ปัญหาใดปัญหาหนึ่ง
มาให้ได้ 10 วิธีการ จากนั้นก็แบ่ง 10 วิธีการที่ได้ออกเป็นวิธีการย่อยๆลงไปอีก เพื่อให้ได้ทางเลือก
หรือคำตอบที่ดีที่สุด

- การตรวจสอบความคิด เป็นเทคนิคที่ใช้การค้นหาความคิดหรือแนวทางที่ใช้ในการแก้ปัญหาต่างๆ
โดยการตรวจสอบความคิดของผู้ที่เคยทำไว้แล้ว

การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์
    กิลฟอร์ด ได้กล่าวถึงบุคลิกภาพของคนที่มีความคิดสร้างสรรค์ว่า จะต้องมีความฉับไวที่รู้ปัญหาและมอง
เห็นปัญหา มีความว่องไวและสามารถจะเปลี่ยนความคิดใหม่ๆได้ง่าย ซึ่งแสดงให้เห็นว่าการแก้ปัญหาเป็นกิจกรรมที่สำคัญยิ่งของชีวิตที่ต้องทำให้สำเร็จลุล่วงจึงจะทำให้ชีวิตสามารถดำเนินไปได้อย่างมีความสุขดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้วิธีการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ โดยปกติคนเราทั่วไปมักเลือกวิธีการที่จะเลี่ยงปัญหามากกว่าการเผชิญปัญหา ซึ่งถ้าคนเรารู้จักที่จะเรียนรู้การแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ก็จะมีชีวิตที่สนุกสนานร่าเริงและความสุขมากยิ่งขึ้น
การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์นั้นประกอบไปด้วยกระบวนการคิด 4 ขั้นตอนคือ

- การค้นหาความหมายของปัญหา ขั้นตอนนี้จะมีความสำคัญมาก เพราะถ้าเรารู้ว่าอะไรคือปัญหา
ที่แท้จริง สามารถหาหนทางในการแก้ได้ตรงมากขึ้น อีกทั้งทำให้เกิดความมั่นใจมองเห็นปัญหา
ได้ทะลุปรุโปร่ง อันจะทำให้ได้คำตอบที่ชัดเจนและเป็นการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ด้วย

- การเปิดใจกว้างเพื่อนำไปสู่วิธีการแก้ไขปัญหา นักคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์จะทำการคัดเลือก
ความคิดเห็นและข้อมูลต่างๆ ไว้เป็นจำนวนมากก่อนที่จะพิสูจน์แยกแยะให้ได้ความคิดเห็นที่ดีที่สุด
ดังนั้นคนเราจึงต้องแสวงหาและเปิดประตูสู่ความคิดไมว่าจะเป็นจากการอ่าน
การสังเกตและการทำงานร่วมกัน

- การพิสูจน์แยกแยะให้ได้ความคิดเห็นที่ดีที่สุด การคิดแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์นั้นมักต้องใช้วิธี
แก้ปัญหาหรือคำตอบ ที่ดีกว่าหรือมากกว่าวิธีการแก้ปัญหาหรือหรือคำตอบที่ได้มาครั้งแรก
แรกเพียงอย่างเดียว เพราะความคิดเห็นและข้อมูลที่สำคัญๆนั้นมีอยู่อย่างมากมาย
จึงจำเป็นที่จะต้องพยายามให้ได้มาซึ่งความคิดเห็นที่ดีที่สุดที่สุด โดยการแยกแยะและคัดเลือก
ออกมาเพื่อให้ได้ข้อมูลที่ดีที่สุด

- การเปลี่ยนความคิดเห็นให้เป็นการกระทำ จุดมุ่งหมายสำคัญของการแก้ปัญหาก็คือการเปลี่ยนแปลง
ความคิดเห็นไปสู่การปฏิบัติจริง คนส่วนใหญ่มีความคิดความคิดสร้างสรรค์แต่ไม่เคยนำไป
สู่การปฏิบัติ ซึ่งกระบวนการคิดสร้างสรรค์นั้นไม่ได้จบลงแค่คิดในใจ การเปลี่ยนความคิด
ไปสู่การปฏิบัตินั้น ต้องเอาชนะอุปสสรคหลาย ลายอย่าง เช่นความไม่มั่นใจในตัวเอง ความขลาดกลัว
และต้องมีความมุ่งมั่นเด็ดเดี่ยวในความเพียรไม่ว่าจะใช้เวลานานสักเท่าใด ก็จะไม่แปรเปลี่ยน
ความคิดสร้างสรรค์สร้างสรรค์ที่ได้เพาะตัวเป็นรูปร่างและติดตามจนกระทั่งเกิดความสมบูรณ์ใน
ทางปฏิบัติ

credit : http://pirun.ku.ac.th

วันจันทร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2555

การออกแบบงานกราฟฟิก : องค์ประกอบพื้นฐานของภาพ

การออกแบบงานกราฟฟิก : องค์ประกอบพื้นฐานของภาพ
 

องค์ประกอบพื้นฐานของภาพ Basic Elements
ภาพใด ๆ ล้วนแต่มีองค์ประกอบอยู่ภายในทั้งสิ้น โดยองค์ประกอบที่อยู่รวมกันเป็นภาพจะมี องค์ประกอบพื้นฐาน ซึ่งได้แก จุด เส้น และ ระนาบ ดังนั้นต่อไปนี้เวลามองภาพวิเคราะห์องค์ประกอบที่อยู่ข้างใน เราจะพูดถึง 3 อย่างนี้เพื่อความเข้าใจที่ตรงกัน คราวนี้เรามาลองดูตัวอย่างกันดีกว่า
ภาพงานออกแบบกราฟิก ที่มีองค์ประกอบพื้นฐานหลักคือ จุด เส้น และ ระนาบประกอบอยู่ภายใน
  • จุด Dot
จุดเป็นองค์ประกอบที่มีขนาดเล็ก โดยมีขนาดความกว้าง และความยาวใกล้เคียงกัน จุดมีคุณสมบัติเด่นในการจัดวางทำให้เกิดการเรียกร้องความสนใจได้ดี
คุณสมบัติของจุด
- เรียกร้องความสนใจของสายตาได้ดี
- บอกและกำหนดตำแหน่งในภาพ
- การวางจุด 2 จุด เราจะได้พื้นที่ระหว่างจุดที่ให้ความรู้สึกดึงดูดระหว่างกัน

  • เส้น Line
เส้นเป็นองค์ประกอบที่มีขนาดยาว เกิดจากการนำจุดมาเคลื่อนที่หรือนำมาวางเรียงต่อ ๆ กัน เส้นมีคุณสมบัติเด่นในการนำ้สายตา เป็นแนวแบ่งภาพ
คุณสมบัติของเส้น
- เส้นมีความยาวมากกว่าความกว้างและความหนาอย่างเห็นได้ชัดจึงทำให้เกิดความรู้สึกไปทางด้านยาวด้านเดียว
- นำสายตา กำหนดทิศทาง และความต่อเนื่อง
- แบ่งซอยภาพ

ความรู้สึก อารมณ์ของเส้นต่าง ๆ ในภาพ

- เส้นตรง ให้ความรู้สึกมั่นคงเป็นระเบียบ
- เส้นนอน ให้ความสงบ นิ่ง เรียบร้อย
- เส้นเฉียง ให้ความรู้สึกถึงการเคลื่อนไหว ความไม่หยุดนิ่ง พลังขับเคลื่อน
- เส้นโค้ง ให้ความรู้สึกถึงความไม่เป็นระเบียบ การไม่อยู่ในกรอบความอิสระ หรือความสับสนวุ่นวายได้ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเส้นจะหยักมากน้อยแค่ไหน
- เส้นเล็กและบาง ให้ความรู้สึกเบาและเฉียบคม ในขณะที่เส้นหนาให้ความหนักแน่นในการนำ้สายตา

  • ระนาบ
ระนาบ เป็นองค์ประกอบที่เกิดจากเส้นที่ขยายตัว หรือกลุ่มของจุดเกิดความกว้าง ความยาว เป็นองค์ประกอบที่เป็น 2 มิติ ระนาบมีอิทธิพลในภาพเป็นอย่างมาก เพราะมักจะครองพื้นที่โดยรวมของภาพเอาไว้

เมื่ออยู่ในภาพตัวระนาบที่เรามีอยู่มักจะมีรูปร่าง (Shape) ต่างกันออกไปรูปร่างแต่ละชนิดก็มีความหมายและให้ความรู้สึกต่าง ๆ กัน ยกตัวอย่างระนาบรูปร่างต่าง ๆ ที่เรามักพบเห็นได้แก่
1. วงกลม Circle
เมื่อวางรูปร่างวงกลมในภาพจะให้ความรู้สึกเป็นศูนย์กลาง เป็นที่รวมความสนใจหรือการปกป้องคุ้มครอง


2. สี่เหลี่ยม Square
เมื่อวางรูปร่างสี่เหลี่ยมในภาพ จะให้ความรู้สึกสงบ มั่นคง เป็นระเบียบ เมื่อวางตามแนวตั้งฉาก ให้ความรู้สึกเคลื่อนไหวและสร้างจุดสนใจได้ดี เมื่อวางทแยง สามารถจัดเป็นกลุ่มก้อนให้ลงตัวได้ง่าย


3. สามเหลี่ยม Triangle
เมื่อวางรูปร่างสามเหลี่ยมในภาพจะได้ความรู้สึกหยุดนิ่ง มั่นคง แต่ที่ส่วนปลายมุมทั้ง 3 ด้านให้ความรู้สึกถึงทิศทาง ความเฉียบคม และมีแรงผลักดัน


4. หกเหลี่ยม Hexagon
เมื่อวางรูปร่างหกเหลี่ยมในภาพ จะให้ความรู้สึกถึงการเชื่อมโยง การเป็นหน่วยย่อยหน่วยหนึ่ง Modular ที่สามารถต่อไปได้อย่างไม่สิ้นสุดไม่มีขอบเขต


ขอบคุณข้อมูลจาก http://student.nu.ac.th